ข้อควรระวังยาฉีดโบทูลินุม ชนิดเอ
สำหรับฤทธิ์ข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ (side effect) ของยาฉีดนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ(41) คือ  
ระยะสั้น (immediate side effect) ได้แก่ การกระจายของยาไปยังกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้เคียง
ทำให้เกิดการอ่อนแรงด้วย(41)  Shaari และคณะ(42)       พบว่า muscle fascia
สามารถลดการกระจายของยาไปยัง กล้ามเนื้อข้างเคียงได้เพียง 19%  และพบมี
การ diffusion ของยาผ่าน fascia  นี้ไปยังกล้ามเนื้อข้างเคียงได้ อาการอื่นที่ พบ
คือเลือดคั่งในกล้ามเนื้อ  (hematoma)     จากการฉีกขาดของเส้นเลือดโดยเข็ม
ฉีดยา แต่พบน้อยมาก
ระยะยาว (long-term side effect) คือ เกิดการดื้อยา (resistance) เชื่อว่าเกิด antibody
ต่อยาขึ้น หรือเกิดการสร้างส่วนของโปรตีนซึ่งยับยั้งการดูดซึมยา จะพบว่าผู้ป่วย
ต้องการปริมาณยาที่มากขึ้น หรือต้องฉีดซ้ำในระยะเวลาที่เร็วขึ้นกว่าเดิม(41)
นอกจากนี้เมื่อตรวจด้วย single fiber  EMG จะพบความผิดปกตินานกว่า
ลักษณะทางคลีนิค(43,44)
        สำหรับหญิงมีครรภ์ ไม่ควรฉีดยานี้ เนื่องจากยังไม่ทราบผลที่แน่ชัดต่อทารกในครรภ์ รวมทั้ง
หญิงที่ให้นมบุตรด้วย ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยา aminoglycosides และในผู้ป่วยที่เป็นโรคทาง
neuromuscular transmission defects เช่น myasthenia gravis
จากรายงานในประเทศไทย ไม่พบฤทธิ์ข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ดังกล่าว(23,24,25)
น้ำยาฟีนอล  ฤทธิ์ข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ของยาฉีด ฟีนอล(14)  ได้แก่  
1. Phlebothrombosis of the calf or thigh muscles     เกิดเนื่องจากใช้ยาฟีนอลจำนวน
มากหรือแทงเข็มหลายจุดในกล้ามเนื้อ คนไข้จะมีอาการปวดและบวบตรงบริเวณที่ฉีดยา
จากนั้นจะบวบทั้งขา
2. Peripheral nerve injury มักเกิดในส่วนของแขน เนื่องจากเส้นประสาท median และ
ulnar อยู่ใกล้กับกล้ามเนื้อ flexor มาก 
3. Muscular weakness อาจเกิดการอ่อนแรงมากจนกล้ามเนื้อนั้นกลับมาทำงานไม่ได้
4. Lightheadedness เกิดได้หลังฉีดยาและหายไปเองในเวลา 5-10 นาที
5. Increase spasticity in the antigonist muscles ที่พบได้คือ หลังฉีดยาที่กล้ามเนื้อ
hamstings แล้วเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อ quadriceps     ทำให้เข่าเหยียดตรง เกิด
เนื่องจากการลดลงของ   reflex reciprocal inhibition ใน antagonist     เมื่อมีการ
ลดลงของ reflex activity ใน agonist
        จากงานวิจัยของ อารมย์ ขุนภาษี และคณะ  ปี 2541(45)  ได้ทำการศึกษาย้อนหลังเพื่อ
ดูผลของการลดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งโดยการฉีด 5% phenol ในน้ำ  แบบ intramuscular
neurolysis          พบว่า มีภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ reflex sympathetic dystrophy 1 ราย
hematoma 1 ราย paresthesia 1 ราย ในผู้ป่วย 54 ราย ระหว่างปี 2534-2538